รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำเมขลา-รามสูร ในราชนิพนธ์รามเกียรติ์
รัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอกโดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถได้สือทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการำเบิกโรงชุดประเริงมาเป็น รำดอกไม้เงินทอง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อทันสมัย เช่น มีการพัฒนาละครในละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละครเสภา และได้กำหนดนาฎศิลป์เป็นที่บทระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น รำบำเทวดา- นางฟ้า ในเรื่องกรุงพาณชมทวีป รำบำตอนนางบุษบากับนางกำนันชมสารในเรื่องนิเหนา ระยำไก่ เป็นต้น
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นศิลปะด้านนาฎศิลป์ เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ ทำให้ศิลปะทำให้มีการฝึกหัดอย่างมีระเบียบแบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฎศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเฉลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง
รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูดยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปาการ ได่ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อปกกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป
ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยาประเทศ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
นาฎศิลป์ ละคร ฟ้อน รำ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ด่ารำ ระยำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่าไทยอธิฐาน
ปัจจุบันได้มีการนำนาฎศิลป์นานาชาติมาประยุคต์ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ รูปแบบของการแสดง มีการนำเทคนิคแสง สี เสียง เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการแสดงชุดต่างๆ ปรับปรุงลีล่าท่ารำให้เหมาะสมกับฉาก บนเวทีการแสดงมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งระบบม่าน ฉาก แสง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีระบบเสียงที่สมบูรณ์ มีเครื่องฉายภาพยนตร์ประกอบการแสดง และเผยแพร่ศิลปกรรมทุกสาขานาฏศิลป์ และสร้างนักวิชาการและนักวิจัยในระบบสูง โดยมีการเปิดสอนนาฏศิลป์ไทยในระดับปริญญาเอกอีกหลายแห่ง